7 อุปนิสัย ของคนที่เก่งในการจัดการตนเอง

7 Habits for Great at Self-Management


“พรสวรรค์” คือกุญแจสู่ความสำเร็จจริงหรือ? หลายคนเชื่อว่าการมีพรสวรรค์พิเศษคือปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต แต่หลังจากที่ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมเชื่อว่า “ทักษะการจัดการตนเอง (Self-management)” ต่างหากที่เป็นกุญแจสำคัญขับเคลื่อนเส้นทางความสำเร็จ

คุณ Angela Duckworth ผู้เขียนหนังสือขายดีระดับโลก “GRIT: The Power of Passion and Perseverance” ได้เสนอสมการความสำเร็จไว้หนังสือว่า
↳ พรสวรรค์ x ความพยายาม = ทักษะ
↳ ทักษะ x ความพยายาม = ความสำเร็จ

เราจะสังเกตได้ว่า “ความพยายาม” ถูกคูณสองครั้ง! โดยสมการแรกหมายถึง การพัฒนาพรสวรรค์ให้กลายเป็นทักษะต้องอาศัยความพยายามอย่างสม่ำเสมอ ส่วนสมการที่สองแสดงให้เห็นว่า การนำทักษะไปใช้ให้เกิดประโยชน์และบรรลุเป้าหมายนั้น จำเป็นต้องมีความพยายามอย่างต่อเนื่องเช่นกัน [ความพยายาม หมายถึง การมุ่งมั่นจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด กัดไม่ปล่อย ไม่ถอยไม่เลิก] ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้คุณต้องมี “ทักษะการจัดการตนเอง”

แต่คำถามคือ เราจะพัฒนาทักษะการจัดการตัวเองได้อย่างไร? ผมจึงสรุป 7 ลักษณะนิสัยของคนที่จัดการตนเองเก่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ #การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Learning หรือ SEL) ผสานกับแนวคิดจากหนังสือ Grit มาลองดูกันครับว่าคุณทำข้อไหนได้แล้ว และข้อไหนที่คุณสามารถพัฒนาได้อีก!


7 อุปนิสัย ของคนที่เก่งในการจัดการตนเอง

การมีเป้าหมายในชีวิตคือจุดเริ่มต้นที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายใหญ่เหล่านั้นอาจทำให้เรารู้สึกท้อได้ง่ายถ้าไม่มีแผนชัดเจน คนที่จัดการตัวเองเก่งจะรู้จักแบ่งเป้าหมายใหญ่ออกเป็นขั้นตอนเล็กๆ ที่ทำได้จริง เพื่อเก็บความสำเร็จและรักษาแรงจูงใจจาก Small Wins

วิธีพัฒนา:

ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการตั้งเป้าหมายแต่ละขั้น เช่น แทนที่จะบอกว่า “จะออกกำลังกายให้หุ่นดี” ลองเปลี่ยนเป็น “จะออกกำลังกาย 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์”

อารมณ์ของเราเปรียบเสมือนลิงป่า หากเราปล่อยให้อารมณ์โลดแล่นไปอย่างอิสระโดยปราศจากการกำกับดูแล ในท้ายที่สุด “อารมณ์จะควบคุมคุณ” คนที่จัดการตัวเองได้ดีจะคอยสังเกต (aware) และบริหารจัดการ (manage) ทั้งอารมณ์และความคิดของตนเองอยู่เสมอๆ

วิธีพัฒนา:

เทคนิคการตั้งชื่ออารมณ์ (emotion labeling) หรือเทคนิคแยกตัวเองออกจากอารมณ์ ด้วยการหยุดหายใจเข้าลึกๆ แล้วบอกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า “ตอนนี้มีความรู้สึก (หงุดหงิด/ โกรธ/ เสียใจ) เกิดขึ้น…” วิธีนี้ช่วยให้เรามองเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ถูกครอบงำ และประมวลผลอารมณ์ได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น

ชีวิตของเรามักเต็มไปด้วยสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การตัดสินใจของคนอื่น หรือปัญหาที่เกิดขึ้นแบบไม่คาดฝัน คุณ Angela Duckworth กล่าวใน Grit ว่า คนที่จัดการตัวเองเก่งจะเลือกใช้พลังงานไปกับสิ่งที่พวกเขาจัดการได้

วิธีพัฒนา:

เมื่อรู้สึกเครียด ลองเขียนสิ่งที่คุณกังวลแยกเป็น 2 กลุ่ม: สิ่งที่ควบคุมได้ และสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แล้วโฟกัสเฉพาะสิ่งที่อยู่ในมือคุณ การโฟกัสแบบนี้ไม่เพียงช่วยให้คุณมีความสงบทางใจ แต่ยังช่วยให้คุณจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


คนที่จัดการตัวเองเก่งรู้ว่าการเช็คความคืบหน้าเป็นเหมือนการหยุดพักดูแผนที่ มันช่วยกลับมารีเช็คตัวเองว่า “ฉันกำลังมุ่งหน้าไปถูกทิศถูกทางอยู่หรือไม่?” การมองเห็นความก้าวหน้า แม้เพียงเล็กน้อย ก็เป็นกำลังใจสำคัญในการก้าวต่อไป

วิธีพัฒนา:

ตั้งจุดเช็คอินให้ชัดเจน ด้วยการกำหนดช่วงเวลาสำหรับการประเมิน เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ตัวอย่างเช่น ทุกวันอาทิตย์ ให้ถามตัวเอง 3 คำถามหลัก

  • ฉันทำอะไรสำเร็จไปแล้ว?
  • อะไรยังต้องปรับปรุง?
  • ฉันจะทำอะไรให้ดีขึ้นในครั้งหน้า?

รวมทั้งการตั้งเกณฑ์วัดผลที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ เช่น “อ่านหนังสือครบ 3 บท” หรือ “วิ่งได้ 5 กิโลเมตร” แทนที่จะวัดผลแบบกว้างๆ เช่น “รู้สึกดีขึ้น”

คุณ Angela Duckworth ใน Grit ชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จไม่ได้เกิดจากความพยายามเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่เกิดจากการลงทุนเวลาและพลังงานอย่างต่อเนื่อง คีย์เวิร์ดหนึ่งจากหนังสือที่ผมจำแม่นเลยคือ “พวกเขาทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ” แม้จะไม่อยากทำก็ตาม

วิธีพัฒนา
1) ใช้หลัก “ทำทีละนิด แต่ทำทุกวัน”
เริ่มจากเป้าหมายเล็กๆ ที่ทำได้จริง เช่น การออกกำลังกาย 15 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ หรืออ่านหนังสือวันละ 3 หน้า เป้าหมายที่เล็กและชัดเจนช่วยให้เราไม่รู้สึกท้อแท้ง่าย และรู้สึกมั่นใจเพิ่มขึ้นเมื่อทำสำเร็จ

2) จัดการความอยากผลัดวันประกันพรุ่ง (Procrastination)
หากเริ่มรู้สึกไม่อยากทำหรืออยากเลื่อนงาน ให้บอกตัวเองว่า “ฉันจะทำแค่ 5 นาที” เริ่มลงมือทำทันทีเลย วิธีนี้ช่วยให้คุณก้าวข้ามความรู้สึกขี้เกียจได้ และมักจะพบว่าพอเริ่มแล้ว มันก็จะไปต่อได้ง่ายขึ้น

3) ให้รางวัลตัวเองเมื่อทำได้ตามแผน
เมื่อคุณทำสิ่งที่ตั้งใจไว้สำเร็จ ให้ให้รางวัลตัวเอง เช่น กินอาหารที่ชอบ หรือพักผ่อนในแบบที่ทำให้คุณมีความสุข รางวัลช่วยเสริมแรงให้คุณอยากทำต่อไป

ความหลงใหล (passion) เปรียบเหมือนเปลวไฟที่จุดประกายความฝันของเรา แต่นั่นไม่เพียงพอหากเราขาด “ความอดทน (patience)” ที่จะรักษาเปลวไฟนั้นให้ลุกโชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณ Angela Duckworth ย้ำบ่อยครั้งในหนังสือว่า ความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้มาจากแรงฮึดชั่วครั้งชั่วคราว แต่ต้องอาศัยความมุ่งมั่นระยะยาว (long-term perseverance) *ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับหนังสือ Atomic Habits ของคุณ Jame Clear ซึ่งผมเคยเขียนไปหลายครั้ง

วิธีพัฒนา:

แบ่งเป้าหมายใหญ่เป็นเป้าหมายเล็กๆ – การตั้งเป้าหมายระยะสั้นช่วยให้คุณรู้สึกถึงความก้าวหน้า เช่น ถ้าเป้าหมายของคุณคือการเขียนหนังสือหนึ่งเล่ม ให้ตั้งเป้าหมายเล็กๆ เช่น “เขียนวันละ 500 คำ” เมื่อคุณทำสำเร็จ คุณจะรู้สึกมีกำลังใจในการทำต่อ

คนที่จัดการตัวเองเก่งจะมองความหลงใหลเป็นเหมือน “แรงขับ” และความอดทนเป็นเหมือน “เกียร์” ในการเดินทางสู่ความสำเร็จ เป้าหมายไม่จำเป็นต้องสำเร็จในวันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่ทุกก้าวที่คุณเดินไป จะพาคุณเข้าใกล้จุดหมายเรื่อยๆ


 “คนที่จัดการตัวเองได้ดีต้องมาพร้อมกับการมีสติ” การฝึกสติอยู่กับปัจจุบันไม่ได้แค่ช่วยให้เราผ่อนคลายเท่านั้น แต่ยังทำให้เราจัดการตัวเองได้ดีขึ้นในหลายมิติ เช่น เพิ่มความสามารถในการโฟกัส ลดความฟุ้งซ่านและความเครียด และทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น (เพราะไม่ถูกรบกวนจากอารมณ์)

วิธีพัฒนา:
การฝึกสติอาจฟังดูเป็นเรื่องยากในยุคที่เราอยู่กับสมาร์ทโฟนและมีสิ่งกระตุ้นรอบตัวมากมาย แต่เชื่อผมเถอะครับว่า “มันเริ่มต้นได้ง่ายกว่าที่คิด”

1) เริ่มจากการฝึกหายใจลึกๆ
– ใช้เวลาสัก 2-3 นาทีในแต่ละวัน ปิดตาและตั้งใจหายใจเข้า-ออกลึกๆ
– โฟกัสที่ลมหายใจของคุณ หรือร่างกายของคุณขณะนั้น
– วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีและง่ายที่สุด ในการดึงจิตใจของคุณกลับมาอยู่กับปัจจุบัน

2) จดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
หากคุณกำลังทำงานหรือทำกิจกรรมใดๆ ลองตั้งใจทำสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ เช่น ถ้ากำลังรับประทานอาหาร ให้สังเกตสี กลิ่น และรสชาติของอาหาร วิธีนี้ช่วยฝึกการโฟกัสโดยไม่ต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน

3) เขียนบันทึกความคิดในแต่ละวัน
ก่อนนอน ลองเขียนบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณ หรือสังเกตเห็นในวันนั้น การจดบันทึกช่วยให้คุณหยุดคิดถึงอนาคตหรืออดีต และหันมาใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง


บทสรุป —ผมขอย้ำอีกครั้งครับว่า “ทักษะการจัดการตนเอง (Self-management)” เป็นพื้นฐานของความสำเร็จ และลักษณะนิสัยทั้ง 7 ข้อนี้คือตัวช่วยให้คุณใช้ความพยายามคูณสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบบที่คุณ Angela Duckworth กล่าวไว้ในหนังสือ Grit

สุดท้ายนี้ ผมอยากชวนคุณผู้อ่านลองเลือก 1 นิสัยจากบทความนี้ แล้วนำไปฝึกใช้ในชีวิตประจำวันสัก 1 สัปดาห์ ลองฝึกตัวเองให้ทำต่อเนื่อง เพราะความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้มาจากแรงฮึดชั่วครั้งชั่วคราว แต่ต้องอาศัยความมุ่งมั่นระยะยาว ✨

References:
Duckworth, A. (2016). Grit: The power of passion and perseverance. Scribner. Retrieved from https://angeladuckworth.com/grit-book/
Collaborative for Academic, Social, and Emotional Learning (CASEL) https://casel.org/fundamentals-of-sel/what-does-the-research-say/

Picture of Armer Khanachang

Armer Khanachang

Founder at SELminder,

บทความล่าสุด

7 อุปนิสัย ของคนที่เก่งในการจัดการตนเอง

หลายคนเชื่อว่าพรสวรรค์คือปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ แต่ความจริงแล้ว “ทักษะการจัดการตนเอง” ต่างหากที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ