3 องค์ประกอบสำคัญ ที่ส่งผลต่อการตระหนักรู้ในตนเอง


“ความตระหนัก เป็นพฤติกรรมทางด้านอารมณ์หรือความรู้สึก” ความตระหนัก (Awareness) มีลักษณะเกือบคล้ายกับความรู้ (Knowledge) แตกต่างกันตรงที่ ความรู้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ที่มนุษย์ได้มีการรวบรวมเก็บสะสมไว้ ดังนั้น ความรู้จึงเกี่ยวข้องกับข้อมูล ความจำ หรือความระลึกได้ // ส่วนความตระหนักรู้ เป็นความสำนึกซึ่งบุคคลเคยมีการรับรู้มาก่อน เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงเกิดความสำนึกขึ้น ดังนั้น ความตระหนักรู้ในตนเอง จึงเป็นเรื่องของการรับรู้ รู้สึก หรือฉุกคิดต่อตนเอง บุคคล หรือสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น (Bloom and Faculty, 1971: 273)

ดังนั้น องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการตระหนักรู้ในตนเอง จึงประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่

1. ด้านความคิด (Thoughts)

เป็นกระบวนการทางการคิดที่บุคคลแต่ละคนใช้เป็นแนวทางในการรับรู้ แปลความและโต้ตอบ ซึ่งทำให้แต่ละบุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกัน / รวมทั้งด้านค่านิยม (Values) เป็นสิ่งที่บุคคลยึดมั่นเป็นแนวคิด เป็นความเชื่อ เป็นแรงจูงใจ หรือเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้บุคคลสามารถตัดสินใจเลือกเป็นแนวทางดำเนินชีวิตของตน

2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotions/Feelings)

เป็นการรู้จักและเข้าใจอารมณ์ของตนเองตามความเป็นจริงว่ากำลังอยู่ในภาวะอารมณ์ความรู้สึกใดและทำไมจึงรู้สึกเช่นนั้น

3. ด้านพฤติกรรม (Behaviors)

เป็นการรู้จักและเข้าใจตนเองเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือคุณลักษณะต่าง ๆ ภายในตัวบุคคล การแสดงออก และพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล เช่น ลักษณะทางด้านร่างกาย ลักษณะท่าทาง อุปนิสัย และการปรับตัว


ผู้เรียบเรียง: อาร์ม สุขพิชัย
เพจ SELminder

Picture of Armer Khanachang

Armer Khanachang

Founder at SELminder,

บทความล่าสุด

9 หลุมพรางการฟัง

ศิลปะของการฟัง มากกว่าแค่การนั่งฟังเฉยๆ —การฟังเป็นทักษะที่ต้องอาศัยความตั้งใจ สติ และการจัดการอารมณ์ (ของตัวเราเอง) อย่างเหมาะสม

20 พฤติกรรมที่ช่วยให้คุณน่าเคารพนับถือมากยิ่งขึ้น

“ความเคารพ” เป็นคุณลักษณะทางจิตใจ ที่คนผู้หนึ่งรู้สึกนับถือ ซาบซึ้ง และให้ความสำคัญจนนำพอไปสู่ “การแสดงออกซึ่งความเคารพ” ทางกาย