สิ่งที่ยากและท้าทายที่สุดหลังจากการตั้งเป้าหมาย คือ การทำให้ตนเองยังคง “Keep sticking” หรือยึดมั่นอยู่กับเป้าหมายให้ได้นานที่สุด..!
ซึ่งจากประสบการณ์ผมพบว่า.. เวลาที่เราตั้งเป้าหมายอะไรที่ต้องทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน สิ่งที่มักเกิดขึ้นคือ “ความรู้สึกท้อ” และบางครั้งก็ “รู้สึกผิดในใจ” เวลาที่ต้องข้ามหรือไม่ได้ทำเป้าหมายนั้นๆ (เช่น ตั้งเป้าหมายว่าจะเขียนบันทึกทุกคืน แต่คืนนี้ขี้เกียจเลยไม่เขียน)
วันนี้เลยอยากมาเล่าเทคนิคหนึ่งที่ผมใช้แล้วได้ผล และช่วยให้ผมควบคุมตนเองให้ทำตามแผนที่ตั้งไว้ได้อย่างต่อเนื่องมากที่สุด คือ “The Two-Bar Strategy”
เทคนิค “The Two-Bar Strategy” ผมอ่านเจอมาจากหนังสือ Redeeming Productivity เขียนโดยคุณ Reagan Rose และมาประยุกต์เข้ากับทักษะการจัดการตนเอง (Self-management) ซึ่งเป็นหนึ่งในคีย์สำคัญของ #การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Learning หรือ SEL) ดังนี้
กลยุทธ์ The Two-Bar Strategy คืออะไร ?
คีย์สำคัญของกลยุทธ์ The Two-Bar Strategy คือ การสร้างความสมดุลระหว่าง (1) เป้าหมายระดับสูงสุดที่ทำได้ในวัน กับ (2) ระดับต่ำสูงที่ทำได้จริง ซึ่งสมดุลทั้งสองนั้นต้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายระยะยาวที่คุณกำหนดไว้ด้วย โดยมีกฏอยู่ข้อเดียว คือ กลยุทธ์นี้จะไม่มีคำว่า “ข้าม” หรือ “ไม่ทำ” (จุดนี้ผมบูรณาการทักษะการจัดการตนเอง (Self-management ของ SEL เข้ามาร่วมด้วย) ดังนี้
ให้ลองนึกภาพตัวคุณยืนอยู่ตรงกลางระหว่างบาร์สองแท่ง โดยบาร์บนแสดงถึงขั้นตอนปฏิบัติสูงสุดที่คุณทำได้ (ซึ่งต้องใช้การเขย่งหรือกระโดดมากกว่าปกติในการลงมือทำ) และบาร์ล่างแสดงถึงขั้นตอนปฏิบัติต่ำสุดที่คุณบรรลุได้จริงในหนึ่งวัน
บาร์บน: เป้าหมายระดับสูงสุดที่ทำได้ในวัน
บาร์บน คือ การลงมือทำระดับสูงสุดที่คุณสามารถทำได้ในวัน คุณควรระบุสิ่งที่จะทำในเวอร์ชั่นที่มันขยายขอบเขตปกติของตัวคุณหน่อย
ตัวอย่างเช่น
คุณตั้งเป้าหมายจะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักให้เหลือ 60 กก.
—บาร์ปกติของคุณคือ วอร์มอัพ + วิ่ง (อาทิตย์ละ 3 วัน) วันละ 15 นาที
—บาร์บน คือ วอร์มอัพ + วิ่งทุกวัน วันละ 30 นาที เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าบาร์บนจะเป็นการลงมือทำที่ทะเยอทะยานกว่าปกติ เปรียบเสมือนคุณมีแผ่นบาร์ลอยอยู่เหนือหัว และคุณพยายามที่จะเขย่งหรือกระโดดให้สูงมากกว่าปกติเพื่อจะแตะปผ่นบาร์นั้นๆ ให้ได้)
บาร์ล่าง: ระดับต่ำสูงที่ทำได้จริง
บาร์บน คือ การลงมือทำระดับต่ำสุดที่สอดคล้องกับระดับพลังงาน เวลา และความสามารถที่คุณทำได้จริงในหนึ่งวัน ซึ่งเป็นจุดที่เราต้องใช้ “การกำกับตนเอง” และ “การยึดมั่นกับคำสัญญาที่ให้ไว้กับตนเอง” ซึ่งก็คือการบูรณาการทักษะการจัดการตนเอง (Self-management ของ SEL เข้ามาร่วมด้วย)
คุณตั้งเป้าหมายจะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักให้เหลือ 60 กก.
—บาร์ปกติของคุณคือ วอร์มอัพ + วิ่ง (อาทิตย์ละ 3 วัน) วันละ 15 นาที
—บาร์บน คือ วอร์มอัพ + วิ่งทุกวัน วันละ 30 นาที
—บาร์ล่าง คือ วอร์มอัพ + วิ่งอย่างน้อย 5 นาที เป็นต้น
คุณจะเห็นได้ว่าในสมการนี้จะไม่มีคำว่า “ข้าม” หรือ “ไม่ทำ” แต่คุณต้องเลือกลงมือทำไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง จะลงมือทำตามบาร์ปกติ หรือวันนั้นคุณมีพลังล้นเหลือก็ยกระดับไปทำตามบาร์บน แต่หากวันนั้นรู้สึกเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียก็เลือกทำบาร์ล่าง เพื่อ Keep Momentum ของเป้าหมายให้ต่อเนื่องมากที่สุด
กลยุทธ์ The Two-Bar Strategy ทำไมถึงสำคัญ ?
เพราะความเหนื่อยล้าจากการทำงานประจำวัน ความท้อแท้ว่าเป้าหมายไม่คืบหน้า และแม้แต่การเริ่มขาดแรงจูงใจเพราะเป้าหมายมันช่างยาวนานเหลือเกิน คือจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ใครหลายคน “ล้มเลิกเป้าหมาย” ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดการจัดการตนเองที่มีประสิทธิผล (Self-management) ตามแนวทางของ SEL โดย CASEL คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเอง และการแบ่งเป้าหมายใหญ่ออกเป็นชิ้นงานเล็กๆ ที่จัดการได้ ซึ่งเราสามารถทำสำเร็จได้ทุกวัน ดังนี้
ขั้นที่ 1 : ตั้งเป้าหมาย
ซึ่งกรอบแนวคิดในการตั้งเป้าหมายที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกทั้ง 3 ตัว ได้แก่ SMART, FAST และ CLEAR สามารถใช้เป็นจุดตั้งต้นที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจของคุณได้ ซึ่งเราเคยเขียนถึงบทความเรื่องนี้ด้วย (อ่านเพิ่มเติม… 3 เฟรมเวิร์กช่วยตั้งเป้าหมายให้ชัดขึ้น)
ขั้นที่ 2 : ลดระดับความพยายาม
กุญแจสำคัญในการรักษาความสม่ำเสมอ คือ การลดระดับสิ่งที่คุณต้องทำ (ในแต่ละวัน) ข้อนี้คุณผู้อ่านอาจรู้สึกว่ามันดูขัดแย้งกัน เหตุผลคือ การตั้งเป้าหมายรายวันเล็กๆ ที่ทำได้ หรือ Small Win จะช่วยลดความท้อแท้จิตใจหรือความเหนื่อยล้าที่มักเกิดจากการพยายามทำมากเกินไปในคราวเดียว ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพยายามอ่านหนังสือ 10 หน้า/วัน ให้ตั้งเป้าหมายที่จะอ่านได้อย่างน้อย 3 หน้า/วัน
ดังนั้น การลดระดับความพยายาม ช่วยให้คุณรู้สึกไม่กดดันจากการต้องทำตามความคาดหวัง (ที่มากเกินไป) แต่กลับมาโฟกัสเป้าหมายที่จัดการได้ซึ่งเราสามารถทำสำเร็จได้ทุกวัน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีในการรักษาแรงจูงใจที่จะทำต่อไป
ขั้นที่ 3 : ห้ามข้าม ห้ามขาด ต้องสม่ำเสมอ
การบรรลุเป้าหมายไม่ใช้งานระยะสั้น แต่คือการลงมือกระทำเล็กๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อย่างเช่นสำนวนที่เราได้ยินบ่อยๆ คือ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว (Rome was not built in a day) กลยุทธ์ The Two-Bar Strategy คือคีย์สำคัญป้องกันความท้อแท้จิตใจ และช่วยให้เรารักษาเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน
เพราะคุณได้กำหนดระดับบาร์ไว้เรียบร้อยแล้ว แปลว่าอย่างน้อยในหนึ่งวัน จะมีชัยชนะหนึ่งอย่างเกิดขึ้นอยู่เสมอ (ไม่ว่าจมีแต่ทำคุณต้องเลือกลงมือทำไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง จะลงมือทำตามบาร์ปกติ หรือวันนั้นคุณมีพลังล้นเหลือก็ยกระดับไปทำตามบาร์บน คุณมันจะไม่มีคำว่า “ข้าม” หรือ “ไม่ทำ” มีแต่ทำคุณต้องเลือกลงมือทำไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง จะลงมือทำตามบาร์ปกติ หรือวันนั้นคุณมีพลังล้นเหลือก็ยกระดับไปทำตามบาร์บน
บทสรุป —ทักษะการจัดการตนเอง (Self-management) ตามแนวทางของ SEL โดย CASELมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของกลยุทธ์ The Two-Bar Strategy เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องการตั้งเป้าหมาย แต่รวมไปถึงเรื่องของการจัดการพลังงาน อารมณ์ และเวลาอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
เมื่อคุณฝึกฝนการจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิผล คุณจะมีความพร้อมในการรับมือกับอุปสรรค รักษาแรงจูงใจ และปรับแผนของคุณเมื่อจำเป็น ตัวอย่างเช่น ในวันที่คุณรู้สึกหมดพลัง คุณก็ใช้กลยุทธ์บาร์ล่าง ซึ่งยังช่วยให้คุณก้าวหน้าโดยไม่มีแรงกดดันที่ต้องทำงานเต็มที่ 100% ตลอดเวลา สิ่งนี้สร้างความยืดหยุ่นและช่วยให้คุณรักษาจังหวะที่สม่ำเสมอไว้ได้